หนู ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหนู สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับหนู วิธีกำจัดหนู
หนู เป็นสัตว์ประเภทเลี้ยงลูกด้วยนม มีลักษณะที่เด่นชัดคือ ฟันคู่หน้าบน-ล่าง 2 คู่ ที่มีความแข็งแรงและคมของฟันเป็นพิเศษกว่าสัตว์ชนิดอื่น ใช้ในการกัดและแทะสิ่งของต่างๆ ฟันหน้าอยู่คู่ตลอดชีวิตของมัน หนูเป็นสัตว์ชอบแทะ ที่ชอบออกหากินเวลากลางคืน แต่บางคนก็อาจจะเห็นหนูหากินหรือวิ่งเพ่นพล่านในเวลากลางวันได้เหมือนกัน หนูจะใช้จมูกในการดมกลิ่นเพื่อหาอาหาร มักหากินในบริเวณใกล้บ้านพักอาศัย ชอบการกัดทำลายข้าวของ สิ่งของเครื่องใช้และสิ่งก่อสร้างต่างๆเป็นประจำ เช่น ตู้ โต๊ะ เพดานบ้าน สายไฟ สายโทรศัพท์ สายคอมพิวเตอร์ ท่อน้ำ ผ้าม่าน สบู่ เครื่องประดับต่างๆ ตามถนน คันคูน้ำ คันนา หนู ก็จะขุดรูอาศัย มีความสามารถที่จะหาอาหารได้ทั้งในน้ำและบนบก ก่อให้เกิดการชำรุดเสียหาย จนใช้การไม่ได้ ทำให้ต้องเสียเงินซ่อมแซมอยู่เสมอ สร้างความลำคาญให้กับเจ้าของบ้านอย่างมาก
การสืบพันธุ์ และการเจริญเติบโตของหนู
หนู มีความสามารถในการผสมพันธุ์และแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว จากการศึกษาค้นคว้าจึงพบว่าหนูสามารถมีลูกได้ครั้งแรกอายุประมาณ 3-5 เดือน เมื่อผสมพันธุ์แล้ว จะตั้งท้องเพียง 21-22 วันเท่านั้น ซึ่งหนูจะมีลูกติดๆกัน ไม่สามารถหยุดตั้งท้องได้ เพียงแต่ตั้งท้องนานกว่า 23-30 วัน หนูบางชนิดจะตั้งท้องประมาณ 19 วัน โดยจะออกลูกคอกละ 6-12 ตัว และความยืนยาวของชีวิตหนูแต่ละชนิดไม่เท่ากัน แต่ไม่แตกต่างกันมากนัก สามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ซึ่งในระยะเวลา 1 ปี เราอาจจะมักพบหนูได้มากกว่า 1,000 ตัว นอกจากจะขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังทนต่อสภาพอากาศที่จะร้อนจัดหรือเย็นจัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
รู้หรือไม่ ? ว่าหนูก็แข็งแรงได้เหมือนสัตว์ชนิดอื่นๆ
- ทนกับสภาพอากาศ -15 องศา ถึง +35 องศา
- ว่ายน้ำและดำน้ำได้นานกว่า 3-4 ชั่วโมง
- ใน 1 คืน สามารถเดินได้ไกล 1-4 กิโลเมตร
- กระโดดได้ไกลถึง 1.50 เมตร และสูงมากกว่า 0.50 เมตร
- มีประสาทสัมผัสและรับรู้ความรู้สึกที่ดีมากๆ
- จมูกรับกลิ่นได้ไกลถึง 1 กิโลเมตร
- ฟันคู่หน้ามีความคมและแข็งแรงเทียบเท่ากับเหล็ก
พฤติกรรมและนิสัยของหนู
หนู เป็นสัตว์ที่มีบริเวณอาณาเขตเป็นของตัวเอง มักหาอาหารจากบริเวณเดิมๆที่เคยกิน เลือกกินอาหารที่ไม่เน่าเสีย มักเดินเลาะตามตู้เก็บของ เฉลียวฉลาดในการสังเกตุ มีไหวพริบรวดเร็ว มักจะระมัดระวังตัวเองจากศัตรู มองหาสิ่งแปลกใหม่ตลอดเวลา หนูที่พบในเวลาในประเทศไทยมี 4 ประเภท ดังนี้
หนูนอร์เวย์ (Rattus Norvegicus)
เป็นหนูที่มีขนาดใหญ่ มีจมูกป้าน ส่วนหางสั้นกว่าส่วนหัวและลำตัว ลำตัวอ้วนและน้ำหนักตัวมากกว่าหนูหลังคา ตาและจมูกเล็ก มีขนหยาบสีน้ำตาลปนเทา ส่วนท้องสีเทา มักอาศัยอยู่ตามรูที่ขุดไว้ในดิน หรือช่องว่างตรงรอยต่อระหว่างฝาผนัง และพื้น ในกองมูลฝอย ในท่อระบายน้ำเสีย หรือท่อระบายน้ำอื่นๆ มักทำรังเป็นที่อยู่อาศัยโดยใช้กิ่งไม้ หรือมูลฝอย หรือเศษหญ้า หรือกระดาษหนังสือพิมพ์
หนูท้องขาว (Rattus rattus)
เพราะมีขนตรงส่วนท้องสีขาวปนเทา หรือครีม มีจมูกแหลม ตาและหูใหญ่กว่าหนูนอร์เวย์ ลำตัวเพรียวกว่า ส่วนหางจะยาวกว่าส่วนหัวและลำตัวรวมกัน มักอาศัยอยู่ตามช่องว่างในหลังคาหรือเพดาน อาจจะทำรังอยู่นอกบ้านใต้กองเศษใบไม้ หญ้าหรือตามสุมพุ่มต้นไม้สูง อาจเห็นวิ่งไปตามท่อน้ำหรือคานของบ้าน หรืออาคารต่างๆ และตามกิ่งไม้ เคลื่อนไหวไปตามทางเดิน
หนูหริ่ง (Mus Musculus)
เป็นหนูที่มีขนาดเล็กที่สุด มีขนาดเท่ากับหนูนอร์เวย์ และหนูหลังคาที่ยังเล็กอยู่ ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบขนาดของหนูหริ่งและหนูชนิดอื่นขณะที่ยังเล็กอยู่ หนูหริ่งมีน้ำหนักตัวประมาณ 10-15 กรัม ส่วนหัวและลำตัวยาวประมาณ 7.5 เซนติเมตร ส่วนหางมีความยาวกวาส่วนลำตัวและหัวรวมกัน เพียงเล็กน้อย ขนด้านหลังมีสีเทาหรือสีเทาปนน้ำตาล ขนส่วนท้องมีสีขาว
หนูจี๊ด (Rattus Exulans)
เป็นตระกูลของ Rattus ที่มีขนาดเล็ก แต่ตัวโตกว่าหนูหริ่ง น้ำหนักตัวประมาณ 36 กรัม ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 115 มม. หางยาวประมาณ 128 มม. ตีนหลังยาวประมาณ 23 มม. ความยาวหูประมาณ 16 มม. มีเต้านมรวม 4 คู่ อยู่ที่หน้าอก 2 คู่ ที่ท้อง 2 คู่ รูปร่างเพรียว จมูกแหลม ตาโต หูใหญ่ ขนด้านหลังสีน้ำตาลมีลักษณะอ่อนนุ่ม มีขนแข็ง (spine) ขึ้นแซมบ้างเล็กน้อย ขนด้านท้องสีเทา ผิวหางเรียบไม่มีเกล็ดมีสีดำตลอด อาศัยอยู่ตามบ้านเรือน ชอบที่สูงตามซอกมุมที่ลับตาอาคาร บนเพดาน และมีความสามารถในการปีนป่ายเก่งเหมือนหนูท้องขาว
พาหะนำโรคของหนู
- กาฬโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่มีหมัดเป็นพาหะนำโรค
- โรคฉี่หนู (Leptospirosis) เกิดจากเชื้อโรคที่ออกมากับฉี่หนูผสมอยู่ตามแหล่งน้ำ เมื่อคนสัมผัส จะทำให้เกิดโรคฉี่หนูได้
- โรคสครับไทฟัส (Scrub Typhus) ไรอ่อน เป็นพาหะนำเชื้อริคเก็ตเซีย ผู้ป่วยมีอาการไข้สูง แต่ไม่รุนแรงถึงขั้นอันตรายแก่ชีวิต
- โรคมิวรีนไทฟัส (Murine Typhus) หมัดหนู เป็นพาหะนำเชื้อริคเก็ตเซีย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไข้สูง แต่ไม่รุนแรงถึงขั้นอันตรายแก่ชีวิต
- โรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) หนูเป็นแหล่งนำโรค ที่เกิดจากลิ้นฝอยทรายกัดดูดเลือดหนูแล้วนำโรคสู่คน
วิธีป้องกันและกำจัดหนู การควบคุมหนูมีทั้งหมด 6 วิธี ดังนี้
- สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นระเบียบ การทำลายแหล่งผสมพันธุ์และแหล่งอาศัย
- ชีววิธี คือ การเลี้ยงสัตว์ผู้ล่า กินหนูเป็นอาหาร ได้แก่ แมว นก และงู
- วิธีกล คือ การนำกับดักต่างๆ ในการควบคุมหนูมาใช้ เช่น กรง กาว และเครื่องยิงหนู
- วิธีทางกายภาพ คือ การนำเครื่องที่กำเนิดคลื่นเสียง คลื่นรบกวน มาไล่หนูออกจากพื้นที่ โดยเครื่องเสียงจะต้องได้รับการอนุญาตจากทางหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น
- การใช้สารเคมี คือ เหยื่อพิษ โดยจะต้องใช้อย่างระมัดระวัง ออกห่างจากอาหารของคน โดยเหยื่อพิษ จะมี 2 รูปแบบ แบ่งออกเป็น
- เหยื่อพิษออกฤทธิ์เร็ว
- เหยื่อพิษออกฤทธิ์ช้า
อย่างไรก็ตามหนูเป็นสัตว์ที่ฉลาด มีไหวพริบ และรวดเร็ว สามารถเรียนรู้ ศึกษาการควบคุม และวิธีกำจัดของมนุษย์ได้ หากวิธีการกำจัดที่ดี จะต้องร่วมมือกันกำจัดหนู ไม่ให้มาทำลาย และรบกวนมนุษย์ เพื่อก่อให้เกิดความลำคาญอีกต่อไป รวมถึงวิธีการกำจัดสิ่งรบกวนชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น กำจัดปลวก กำจัดมด และอื่นๆอีกมากมาย