บริษัทกำจัดปลวกภูเก็ต

บทความ เรื่องน่ารู้ เกร็ดความรู้

บทความ เรื่องน่ารู้ เกร็ดความรู้เรื่องปลวก บริษัทได้รวบรวม ความรู้เกี่ยวกับปลวก มด แมลงสาบ หนู ยุง และตัวเรือด เพื่อเป็นความรู้ให้กับทุกคน และเพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลทั่วไป ใช้ในการป้องกัน พร้อมทั้งกำจัด ยังรวมไปถึงการดูแลรักษาสิ่งปลูกสร้างของท่าน ให้ปลอดภัยจากปลวก แมลงและสัตว์รบกวนต่างๆอีกด้วย

เรื่องน่ารู้ เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับปลวก และสัตว์รบกวน

บริษัทได้รวบรวมความรู้ พร้อมจัดทำบทความ เรื่องน่ารู้ และเกร็ดความรู้ในหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการกำจัดปลวก มด แมลงสาบ หนู ยุง และตัวเรือด เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลทั่วไป ใช้ในการป้องกัน กำจัด รวมไปถึงวิธีการดูแลรักษาสิ่งปลูกสร้างของท่าน ให้ปลอดภัยจากปลวก แมลงและสัตว์รบกวนต่างๆ

ภัยร้ายจากหนู โรคติดต่อจากหนู

ภัยร้ายจากหนู

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหนู ชนิดของหนู วิธีการกำจัดหนู

หนู เป็นศัตรูที่สำคัญของมนุษย์ หนูทำลายพืชผลและพยายามจะเข้าร่วมในที่อยู่อาศัยของมนุษย์และนำความเสียหายนานาประการแก่เศรษฐกิจของมนุษย์เป็นจำนวนมหาศาล ทั้งทางตรงและทางอ้อม ความเสียหายทางตรงที่เด่นชัด คือ การกัดแทะกินพืชผลที่มนุษย์ปลูกตั้งแต่ในไร่นา ตลอดจนทำให้เกิดการปนเปื้อนในที่เก็บรักษา ในระหว่างการขนส่งและการแปรรูปผลิตผล จนกระทั่งอยู่ในมือผู้บริโภค นอกจากพืชผลทางการเกษตรแล้ว ผลิตภัณฑ์เครื่องอุปโภคและบริโภคของมนุษย์ยังถูกหนูกัดแทะทำลายอีกด้วย 

นอกจากนี้หนูยังเป็นสัตว์พาหะสำคัญที่นำโรคหลายชนิดสู่คน และสัตว์เลี้ยง อย่างเช่น โรคไข้ฉี่หนู (leptospirosis), โรคไข้หนู (murine thyphus, scrub thyphus), กาฬโรค (plaque) โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น ส่วนความเสียหายทางอ้อมมักเกิดจากการกัดแทะเพื่อลับฟันของหนูต่อสิ่งก่อสร้าง อาคารบ้านเรือน ของใช้ต่างๆ และสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในอาคารทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ รวมทั้งการขุดรูอาศัยภายใต้อาคาร ตามคันดิน คันคลอง หรือในท่อระบายน้ำเสีย ทำให้พื้นอาคารทรุด ดินฝั่งตลิ่งทรุด เกิดการอุดตันในท่อระบายน้ำ ซึ่งการทำลายที่เกิดขึ้นนี้เสียหายคิดเป็นมูลค่ามหาศาลในปีหนึ่งๆ

ชนิดของหนู และประเภทของหนู

ภัยร้ายจากหนู
  1.  หนูป่าหรือหนูนา (Wild or field rodents) หนูเหล่านี้พบในธรรมชาติ ในสภาพพื้นที่ป่าท่งหญ้าหรือตามแหล่งที่มีการปลูกพืช กินเมล็ดพืช รากพืช ใบ ผลของพืช แมลง หอย ปู ปลา เป็นต้น เป็นอาหาร หนูหลายชนิดขุดรูอาศัยในดิน เช่น หนีในสกลหนูพก (Bandicota spp.) หนูสกลท้องขาว (Rattus spp.) เป็นต้น บางนิดอาศัยอยู่ตามกอหญ้าหรือขดรูตามรอยแตกของหน้าดิน เช่น หนูหริ่งนา เป็นต้น และบางชนิดอาศัยอยู่ในรังนกเก่าๆ หรือในโพรงต้นไม้ หรือบนต้นไม้ เช่น หนูมือลิง หนูสกลท้องขาว
  2. หนูบ้านหรือหนูในแหล่งชุมชนหรือหนูในเมือง (Commensal or domestic rodents) เป็นหนูที่พบอาศัยอยู่ใกล้ชิดทับมนุษย์มากที่สดในแหล่งชุมชนหรือในเมือง กินอาหารเกือบทุกชนิดที่มนุษย์กินได้และเหลือทิ้ง มีทั้งที่สามารถขุดรูอาศัยในดินหรือหลบซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆ ทั้งในบ้านและนอกอาคาร หรือในท่อระบายน้ำ หรือในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หนูเหล่านี้ชอบกัดแทะทำลายของกินและของใช้ต่างๆ ทั้งในบ้านเรือนและอาคารสถานที่ต่าง จึงเป็นตัวการสำคัญในการนำโรคสู่มนุษย์ตลอดจนการเกิดเพลิงไหม้อันเนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจร ได้แก่ หนูสกลท้องขาว และหนูสกุลหนูหริ่ง

วงจรชีวิตของหนู และการผสมพันธุ์ของหนู

หนูเป็นสัตว์เลือดอุ่นขนาดเล็ก เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม  มีวงจรชีวิตประมาณ 3-4 เดือน โดยเฉลี่ยมีลำตัวยาวประมาณ 35-45 เซนติเมตร มีฟันแหลมคม 2 คู่ ซึ่งฟันของหนูจะมีการงอกตลอดเวลา ทำให้หนูต้องใช้ฟันกัดแทะอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน หนูมีการผสมพันธุ์และแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว หนูสามารถแพร่พันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ  3-4 เดือน  (วงจรชีวิตอยู่ได้ 6-13 เดือน) 

เมื่อแรกเกิดหนูไม่สามารถช่วยเหลือตัวของมันเองได้จำเป็นต้องให้แม่เป็นผู้ช่วยจนกระทั่งเป็นเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ หนูจะเบิกตาหรือลืมตาได้เมื่ออายุประมาณ 12-14 วัน สามารถผสมพันธุ์ได้ใหม่อีกครั้งเมื่อคลอดตัวอ่อนออกมาได้ภายใน 48 ชั่วโมง ออกลูกได้ปีละ 10-12 ครอก และแต่ละครอกมี 7-8 ตัว และเมื่อคลอดลูกเสร็จสามารถผสมพันธุ์ได้ทันที หนูสามารถคลอดลูกได้ตลอดปี อายุของหนูมีความยืนยาวแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของหนู

ภัยร้ายจากหนู อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

หนูเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่สำคัญที่เป็นปัญหาทางสาธารสุขทั่วโลก ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อมายังมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้อย่างรวดเร็ว เช่น โรคที่เกิดจากไวรัส คือ ฮันตาไวรัส  ส่วนโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ได้แก่ โรคฉี่หนู กาฬโรค สครัปไทฟัส และมิวรีนไทฟัสและโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิ ได้แก่ โรคพยาธิใบตับ โรคพยาธิตัวบวมและโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งมนุษย์สามารถติดเชื้อได้ 2 ทาง คือ การติดเชื้อทางตรง เช่น ถูกกัด รับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนอุจจาระของหนูที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อ และสามารถติดต่อทางพื้นดินจากการสัมผัส 

ขณะที่การติดเชื้อทางอ้อม ได้แก่ การรับประทานกลุ่มปรสิตภายนอก เช่น เห็บ ไร เหา และหมัด รวมทั้งรับประทานโฮสต์กึ่งกลาง เช่น หอยน้ำจืด และโฮสต์พาราทีนิก เช่น กุ้ง ปู และลูกอ๊อดที่มีพยาธิระยะติดต่อโดยบังเอิญ จึงทำให้มีการแพร่กระจายเชื้อในมนุษย์สูงขึ้น ดังนั้นการป้องกันในการเกิดโรคเหล่านี้ควรทำความสะอาดบริเวณบ้านเป็นประจำ รับประทานอาหารที่ปรุงสุก และให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันการติดเชื้อจากหนูสู่มนุษย์

การควบคุมป้องกันหนู และ วิธีการกำจัดหนู

 การป้องกันมิให้หนูเข้าสู่อาคารหรือที่พักอาศัย อาคารที่สามารถป้องกันมิให้หนูเข้าได้นั้น จะต้องไม่มีช่องหรือทางเปิดอื่นใดที่หนูจะเข้าไปได้ โดยการกรุด้วยตาข่ายหรือสิ่งที่สามารถป้องกันหนูเข้าได้ วัสดุที่ใช้ควรป้องกันการกัดแทะของหนูได้ เช่น คอนกรีต อิฐ หิน เหล็ก หรือกระเบื้องหนา ๆ สำหรับประตูไม้นั้นตามขอบและมุมของด้านล่างควรหุ้มด้วยโลหะ เพื่อป้องกันหนูแทะ ปิดหรืออุดทางเข้าออกของหนู เมื่อสำรวจ พบว่ามีช่องทางเดินของหนู ควรใช้ลวดตาข่าย แผ่นโลหะ คอนกรีต ปิดช่องทางเดินนั้นเสีย เพื่อไม่ให้หนูมีช่องทางเดินสู่อาคารได้ 

การรวบรวมและกำจัดมูลฝอย เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำลายแหล่งอาหารและที่พักอาศัยของหนู นับว่ามีความสำคัญทางด้านการสุขาภิบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูลฝอยเปียกเป็นแหล่งอาหารของหนู หนูชอบคุ้ยเขี่ยกิน ส่วนมูลฝอยแห้ง หนูใช้ทำรัง เพื่อเป็นที่อาศัย ดังนั้น จึงควรเก็บมูลฝอยในที่รองรับที่ทำด้วยวัสดุแข็งแรง ใช้งานได้ดี ไม่รั่วซึม มีฝาปิดมิดชิด ป้องกันหนูและสุนัขได้ หรือเก็บมูลฝอยใส่ถุงดำก่อนนำไปกำจัด และจะต้องทำความสะอาดไม่ให้มีเศษอาหาร หรือกลิ่นอาหารอยู่ ท่อน้ำทิ้งไม่ควรมีเศษอาหารค้างทิ้งไว้ ควรทำความสะอาดท่อน้ำทิ้งไม่ให้อุดตัน การปรับปรุงอาคารและที่อยู่อาศัย ให้ถูกลักษณะ

เรื่องที่น่าสนใจ :: บริการกำจัดหนู

โทรติดต่อสอบถาม

076-244789

INBOX LINE 24 Hr.

เข้าสำรวจพื้นที่ พร้อมให้คำปรึกษา ฟรี

ตรวจเช็คปลวกฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมให้คำปรึกษา ให้เราติดต่อกลับโดยด่วน