บริการของเรา

บริการของเรา บริษัท ดี. แลนด์ เฮ้าซิ่ง เซอร์วิส จำกัด (De.Land Housing Service Co.,Ltd.) มีความพร้อมในการให้บริการเรื่องปลวก มด แมลงสาบ หนู และยุง โดยมีบริการครบวงจร พร้อมให้คำปรึกษา เข้าสำรวจพื้นที่ฟรี 

  • Home
  • บริการของเรา

การบริการ ของเรา

1

  • วางระบบท่อเคมี
  • อัดน้ำยาเคมีรอบตัวอาคาร
  • เจาะพื้นอัดน้ำยาเคมี
  • อัดน้ำยาเคมีเข้าท่อ
  • ติดตั้งสถานีเหยื่อจัดการปลวกแบบฝังดินรอบบ้าน
  • ติดตั้งสถานีเหยื่อจัดการปลวกภายใน

2

  • ตรวจเช็ค
  • ฉีดพ่นสารเคมี
  • ติดเจล

3

  • วางเหยื่อรอบตัวอาคาร – ใต้อาคาร – ตามจุดเสี่ยงต่างๆ
  • วางกาวดักหนู
  • ใช้กล่องเหยื่อวางรอบตัวอาคาร

4

  • วิธีการรมควัน
  • ฉีดพ่นสารเคมี

5

  • สำรวจหาแหล่งระบาด
  • ฉีดพ่นสารเคมีบริเวณที่พบ
  • สำรวจตรวจความเรียบร้อย

6

  • ตรวจเช็ค
  • เคลื่อนย้ายคนและสัตว์เลี้ยง
  • กำจัดเชื้อในอากาศ
  • พ่นละอองฝอย (ยูแอลวี)
  • สำรวจตรวจความเรียบร้อย 

โทรติดต่อสอบถาม

INBOX LINE 24 Hr.

เข้าสำรวจพื้นที่ พร้อมให้คำปรึกษา ฟรี

ตรวจเช็คปลวกฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมให้คำปรึกษา ให้เราติดต่อกลับโดยด่วน

บริการของเรา บริษัท ดี.แลนด์ เฮ้าซิ่ง เซอร์วิส จำกัด

บริการของเรา บริษัท ดี.แลนด์ เฮ้าซิ่ง เซอร์วิส จำกัด เปิดให้บริการกำจัดปลวก โดยมีทีมงานผู้เชียวชาญ ที่สามารถการันตีด้วยผลงานได้ 

ให้บริการอะไรบ้าง?

De.Land Housing Service เปิดให้บริการครบวงจร เพราะเรามีความพร้อมในการให้บริการ พบปัญหารีบโปรหาเรา เราเข้าตรวจเช็คพื้นที่ให้ทันที ไม่มีค่าบริการ พร้อมให้คำปรึกษา และแนวทางแก้ปัญหา บริการของเรา อาทิเช่น

  • บริการกำจัดปลวก
  • บริการกำจัดมด-แมลงสาป
  • บริการกำจัดหนู
  • บริการกำจัดยุง
  • บริการกำจัดตัวเรือด
  • บริการพ้นลัอองฆ่าเชื้อโรค

ให้บริการจังหวัดไหนบ้าง?

บริษัทกำจัดปลวกภาคใต้ เราให้บริการควบคุมทุกพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาให้กับบ้าน และองค์กรของคุณ เพื่อให้ปลอดภัยจาก ปลวก มด แมลงสาป ยุง ตัวเรือด เขตพื้นที่ๆเราให้บริการ 

  • จังหวัดภูเก็ต
  • จังหวัดพังงา
  • จังหวัดกระบี่
  • จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วิธีให้บริการ กำจัดปลวก มด แมลงสาป ยุง ตัวเรือด

วิธีการปฏิบัติงานจัดการปลวก

วิธีที่  1 อัดน้ำยาเคมีเข้าท่อจัดการปลวก

  • เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจเช็คท่อก่อนที่จะทำการอัดน้ำยาเคมี
  • เจ้าหน้าที่จะใช้หัวที่เตรียมไว้แล้วสวมต่อกับหัวท่อของตัวอาคารเพื่ออัดน้ำยาเคมี
  • เจ้าหน้าที่จะใช้เครื่องปั๊มขนาด 5.5 HP. ทำการอัดน้ำยาเคมี
  • ปริมาณน้ำยาเคมีที่ใช้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่นั้นๆ

 

วิธีที่  2 เจาะผนังอาคาร 2 ชั้น

  • เจ้าหน้าที่จะใช้สว่านเจาะบริเวณผนัง 2 ชั้นเพื่อทำการอัดน้ำยาเคมี
  • เจ้าหน้าที่จะใช้เครื่องปั๊มขนาด 5.5 HP. ทำการอัดน้ำยาเคมี
  • ปริมาณน้ำยาเคมีที่ใช้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่นั้นๆ

วิธีที่ 3 อัดน้ำยาเคมีใต้อาคารจัดการปลวก

  • เจ้าหน้าที่จะสำรวจใต้อาคาร ในบริเวณที่ยกพื้นสูง
  • เจ้าหน้าที่จะเข้าไปยังใต้อาคาร เพื่ออัดน้ำยาเคมีหรือฉีดพ่นบริเวณพื้นใต้อาคารเพื่อป้องกันปลวก
  • เจ้าหน้าที่จะใช้เครื่องขนาด 5.5 แรงม้า อัดน้ำยาเคมีด้วยแรงดันที่ 30 ปอนด์ / 1 ตารางเมตร
  • เจ้าหน้าที่จะทำการอัดน้ำยาเคมีลงดินตามอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยใช้อัตรา 3 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร

วิธีที่ 4 ติดตั้งสถานีเหยื่อภายในเพื่อจัดการปลวก (Bait Station) กรณีพบปลวกระบาดแล้วเท่านั้น

ก่อนการติดตั้งสถานีเหยื่อปลวกบนดิน เจ้าหน้าที่จะทำการสำรวจทางเดินของปลวกและความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น บริเวณไม้ , ผนัง, กระดาษ, ตู้ , เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ , บานประตูและหน้าต่าง เมื่อพบว่ามีปลวกระบาดเจ้าหน้าที่จะจัดการติดตั้งสถานเหยื่อปลวกตรงจุดที่พบปลวกระบาดเท่านั้น

ขั้นตอนการติดตั้งสถานีเหยื่อจัดการปลวกภายใน

  • เจ้าหน้าที่จะทำการสำรวจสถานที่ เมื่อพบแหล่งที่มาและการระบาดของปลวก เจ้าหน้าที่ จะจัดการติดตั้งสถานีเหยื่อปลวก
  • หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะกลับเข้าไปตรวจเช็คอีกครั้งว่ามีปลวกมากินเหยื่อหรือไม่ และเจ้าหน้าที่จะตรวจเช็คปริมาณเหยื่อที่ใส่ไว้ว่ามีปริมาณลดน้อยลงหรือไม่
  • หากยังมีการระบาดของปลวกอยู่เจ้าหน้าที่จะจัดการเติมเหยื่อ และตรวจเช็คเป็นระยะ จนกว่าการระบาดของปลวกจะหมดไป
  • หากไม่พบการระบาดของปลวกเกิดขึ้น ณ จุดนั้นแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการถอดกล่องเหยื่อจัดการปลวกออก

วิธีที่ 5  การติดตั้งสถานีเหยื่อกำจัดปลวกรอบนอกอาคาร

  • เจ้าหน้าที่จะทำการสำรวจสถานที่
  • เจ้าหน้าที่จะทำการติดตั้งสถานีฝังดินโดยรอบอาคาร ภายในสถานีมีไม้ที่เป็นอาหารของปลวก
  • หลังจากทำการติดตั้งสถานีฝังดินเรียบร้อยแล้วเจ้าหน้าที่จะทำการเติมสารชี้นำปลวกลงไปในสถานี
  • หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะมาตรวจสอบสถานีเป็นระยะ
  • เมื่อพบปลวกแล้วเจ้าหน้าที่จะทำการเติมเหยื่อ

วิธีที่ 6. ปฏิบัติการเจาะพื้นอัดน้ำยาเคมี

  • เจ้าหน้าที่จะใช้สว่านขนาด 16 มม. เจาะบริเวณแนวผนังให้ถึงพื้นดินเพื่ออัดน้ำยาเคมี
  • เจ้าหน้าที่จะใช้เครื่องปั๊มขนาด 5.5 ทำการอัดน้ำยาเคมี
  • เจ้าหน้าที่จะทำการอัดน้ำยาเคมีด้วยปริมาณน้ำยาเคมีที่เหมาะสม
  • การปิดรูที่เจาะ เจ้าหน้าที่จะทำการปิดรูที่เจาะโดยใช้วัสดุที่ใกล้เคียงกับของเดิมให้มากที่สุด ซึ่งเตรียมเอาไว้แล้วปิดรูที่เจาะเพื่อให้เกิดความสวยงาม

วิธีที่ 7 จัดการตรวจเช็คปลวก

  • การตรวจเช็คเบื้องต้น (Initial Inspection) การตรวจเช็คตามจุดที่มักพบปัญหาปลวก เช่น ห้องครัว

    ห้องน้ำ ห้องเก็บของ ห้องใต้บันได วงกบประตู ขอบบัว รอยแตกร้าวของพื้นและผนังต่างๆ

  • หลังจากทำการตรวจเช็คเบื้องต้นแล้ว เจ้าหน้าที่จะใช้ลูกยางที่ภายในบรรจุเคมีผงฉีดไปตาม

    จุดที่พบทางเดินของปลวก

  • เจ้าหน้าที่จะปล่อยทิ้งไว้ 3 – 5 วันแล้วจะไปตรวจเช็คอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าปลวกนั้นตายหมดแล้ว

วิธีการจัดการมดและแมลงสาบ มี 2 วิธี รายละเอียดดังนี้

วิธีที่ 1 การใช้เหยื่อ ( ชนิดเจล ) บริเวณภายใน

  • เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการทำงานควรเก็บ ทำลาย แหล่งอาหารของมด-แมลงสาบให้มีเหลือน้อยที่สุด
  • เจ้าหน้าที่จะทำการสำรวจสถานที่เพื่อหาแหล่งที่มาและทางเดินของมด-แมลงสาบ
  • หลังจากทำการสำรวจเจ้าหน้าที่จะทำการติดเจลใกล้เส้นทางเดินของมด-แมลงสาบหรือบริเวณที่คาดว่า

มด-แมลงสาบจะเข้าสู่ตัวอาคาร

  • หลังจากทำการติดเจลเรียบร้อยแล้วห้ามใช้สารเคมีกำจัดแมลงชนิดน้ำฉีดพ่นบริเวณที่ทำการติดเจลเพราะ

จะทำให้เป็นการไล่มด-แมลงสาบ จึงทำให้มด-แมลงสาบไม่สามารถเข้ามากินเจลที่ติดไว้ได้ ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานลดลง

วิธีที่ 2 การฉีดพ่น

  • เจ้าหน้าที่จะสำรวจเพื่อหาแหล่งที่มาของมด-แมลงสาบ
  • เจ้าหน้าที่จะใช้ถังสเปรย์ฉีดพ่นตามซอกมุมต่างๆตามรอยแตก หรือรอยแยกของอาคารที่เป็น

      แหล่งหลบซ่อน และบริเวณท่อน้ำทิ้ง

วิธีการบริการจัดการหนู มี 2 วิธี รายละเอียดดังนี้

วิธีที่ 1 การใช้เหยื่อชนิดเม็ด

  • เจ้าหน้าที่จะสำรวจเพื่อหาทางเข้า – ออกของหนู
  • เจ้าหน้าที่จะทำการวางเหยื่อบริเวณรอบๆอาคาร
  • เจ้าหน้าที่จะเข้าไปทำการตรวจเช็คอีกครั้งเพื่อตรวจดูเหยื่อที่วางไว้ว่ามีปริมาณลดลงหรือไม่ 

วิธีที่ 2 การใช้กาวดักหนู   

  • เจ้าหน้าที่จะสำรวจเพื่อหาทางเข้า – ออกของหนู
  • เจ้าหน้าที่จะวางกาวตามบริเวณต่างๆขึ้นอยู่กับความจำเป็นของสถานที่นั้นๆ
  • เจ้าหน้าที่จะเข้าไปทำการตรวจเช็คกาวที่วางเอาไว้ว่ามีหนูติดกาวหรือไม่

 

วิธีการจัดการยุง มี 2 วิธี รายละเอียดดังนี้

วิธีที่ 1 การรมควันจัดการยุง

  • เจ้าหน้าที่จะใช้เครื่องรมควัน(Fogging)เพื่อขับไล่ยุงและแมลงบินต่างๆที่อาศัยอยู่ภายในอาคาร

และบริเวณรอบๆ อาคาร

วิธีที่ 2 การฉีดพ่นจัดการยุง

  • เจ้าหน้าที่จะใช้เครื่องมอเตอร์โบลว์จัดการฉีดพ่นเพื่อขับไล่ยุงและแมลงบินต่างๆที่อาศัยอยู่ภายในอาคาร และบริเวณรอบๆ อาคาร

 

โรคติดต่อมักเป็นโรคติดเชื้อจากไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือ ปรสิต และหากมีการเพิ่มจำนวนขึ้น

อย่างรวดเร็วผิดปกติหรืออย่างไม่คาดคิดในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งจะถือว่าเกิดการระบาดของโรคติดต่อนั้นๆ

การเกิดโรคติดต่อระบาดขึ้นอาจมีสาเหตุหลายประการเช่น

  • การเดินทางไปมาทั้งในและระหว่างประเทศ
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในธรรมชาติ
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมและความเป็นอยู่ของประชากร ความแออัด

ปัจจุบันเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้แล้ว จากการถูกไอ จาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของคนที่ป่วย ดังนั้น เราควรดูแลตนเองเพื่อให้ร่างกายห่างไกลจากเชื้อไวรัสโคโรน่า โดยมีวิธีการรับมือ ดังนี้

  1. เชื้อไวรัสนี้ติดต่อผ่านทางลมหายใจ สารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลายควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน
  2. เชื้อไวรัสโคโรน่าติดต่อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เนื้อสัตว์ เช่นเนื้อหมู เนื้อวัว ควรทานแบบสุกเท่านั้น
  3. ควรทานอาหารที่สุกแล้วงดอาหารดิบ และเนื้อสัตว์ป่า
  4. หมั่นล้างมือหรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์
  5. ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่ไอ
  6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด และมีมลภาวะเป็นพิษ
  7. งดเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงโรคระบาด
  8. ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปากถ้าไม่จำเป็น
  9. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่นเช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ฯลฯ
  10. ถ้ามีอาการไข้ มีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคือ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้สวมหน้ากากอนามัย และรีบไปพบแพทย์ทันที!!

วิธีการฉีดพ่นโดยการใช้เครื่องพ่นละออง (ยูแอลวี)

  • การตรวจเช็คเบื้องต้น (Initial Inspection) การตรวจเช็คตามจุดที่มักพบปัญหา
  • เคลื่อนย้ายคนและสัตว์เลี้ยง (หากมี) ออกจากบริเวณที่จะทำการแก้ปัญหาเพื่อความไม่ประมาท
  • ก่อนดำเนินการกำจัดเชื้อในอากาศ ลูกค้าจะได้รับคำแนะนำให้ปิดคลุมเครื่องใช้ไฟฟ้าและปิดระบบระบาย

    อากาศ การฆ่าเชื้อโรคในอากาศจะใช้วิธีการพ่นละออง (ยูแอลวี) เพราะสามารถกระจายน้ำยาฆ่าเชื้อที่มี

    อนุภาคขนาดเล็กเข้าสู่บริเวณที่ยากต่อการเข้าถึงอย่างบริเวณมุม บนกำแพง และพื้น

  • เจ้าหน้าที่จะใช้เครื่องพ่นละอองฝอย (ยูแอลวี) ฉีดพ่นอย่างละเอียดครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยง เช่น พื้นผิวโต๊ะ

    ลูกบิดประตู ที่จับตู้เก็บเอกสาร ที่พักแขนเก้าอี้ คีย์บอร์ด เม้าส์ สวิทช์ไฟฟ้า และโทรศัพท์

  • จะต้องปิดบริเวณที่ได้รับการฆ่าเชื้ออย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ก่อนที่

    จะเปิดพื้นที่เพื่อระบายอากาศต่อไป

วิธีการสเปรย์กำจัดตัวเรือด ( Bed Bug )

 

  • เจ้าหน้าที่จะทำการสำรวจหาแหล่งที่มาของการระบาด
  • หลังจากทำการสำรวจ เจ้าหน้าที่จะใช้สารเคมีฉีดพ่นบริเวณที่พบการระบาด
  • ห้องที่ทำการฉีดพ่นสารเคมี จำเป็นต้องปิดห้องไว้ 3 วัน โดยประมาณ เพื่อให้สารเคมีออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทางเจ้าหน้าที่จะเข้าไปทำการตรวจเช็คอีกครั้งหากยังพบตัวเรือดทางบริษัทฯจะเข้าทำการฉีดพ่นสารเคมีอีกครั้ง